โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศการตรวจประเมินสภาพฝายและวางแผน
ปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพฝายในพื้นที่จังหวัดเชียงราย
1. หลักการและเหตุผล :
สืบเนื่องจากปี พ.ศ. 2562 จังหวัดเชียงรายได้ดำเนินการโครงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการ กิจกรรมพัฒนาระบบสารสนเทศเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือภัยน้ำท่วมและดินถล่มจังหวัดเชียงราย โดยมีกิจกรรมสำคัญเป็นการพัฒนาระบบข้อมูลของสิ่งกีดขวางทางน้ำในลำน้ำคูคลองและถนน และวิธีการแก้ไขปัญหาการกีดขวางทางน้ำแต่ละแห่งในพื้นที่ของจังหวัดเชียงราย โดยใช้ความรู้ด้านวิชาการร่วมกับองค์ความรู้ของชุมชนในฐานะเจ้าของพื้นที่ในการวางแผนแก้ปัญหาการกีดขวางทางน้ำอย่างเป็นระบบ มีการเก็บข้อมูลปัญหาการกีดขวางทางน้ำ
การถูกบุกรุกของลำน้ำคูคลอง และถนนขวางทางน้ำจนทำให้ลำน้ำขาดประสิทธิภาพการระบายน้ำเกิดปัญหาน้ำท่วม ซึ่งจากการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลสิ่งกีดขวางทางน้ำครอบคลุมทุกตำบลแล้วนั้น ได้พบปัญหาสำคัญมากอีกอย่าง คือ ฝายและระบบส่งน้ำที่มีอยู่จำนวนมากนั้น มีฝายบางส่วนที่สร้างปัญหากีดขวางทางน้ำทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ แต่ยังมีฝายอีกจำนวนมากที่ชำรุดเสียหายหรือมีประสิทธิภาพไม่ดี ได้แก่ การขาดความสามารถในการยกระดับผันน้ำเข้าคลองหรือเหมืองส่งน้ำไปใช้ในฤดูการเพาะปลูก มีตะกอนหน้าฝาย
และขาดความสามารถใช้เก็กกักน้ำไว้ใช้ที่บริเวณหน้าฝายในฤดูแล้ง ซึ่งถ้าแก้ไขปรับปรุงไม่ถูกหลักวิชาการจะก่อให้เกิดปัญหากีดขวางทางน้ำขึ้นได้ ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะเพิ่มและรุนแรงมากขึ้น ในแต่ละปีทางภาครัฐต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการบรรเทาปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้งจากการขาดประสิทธิภาพของฝาย ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าไม่มีความยั่งยืน และจากการหารือในคณะอนุกรรมทรัพยากรน้ำจังหวัดเชียงราย พบว่าจังหวัดเชียงรายยังขาดการจัดเก็บระบบฐานข้อมูลสภาพของฝายของทุกหน่วยงานที่มีหลายร้อยแห่ง
ทำให้การวางแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่เกษตรที่ใช้น้ำจากฝายยังทำได้ไม่ดี เนื่องจากฝายจำนวนมากมีการชำรุด หลายหน่วยงานไม่สามารถซ่อมแซมได้เนื่องจากต้องใช้ความรู้ในวิชาการด้านวิศวกรรมชลศาสตร์ และไม่มีการจัดเก็บในรูปแบบเดียวกัน ขาดผลการตรวจสภาพฝายและไม่มีการเตรียมแนวทางการซ่อมแซมแก้ไขการชำรุดของฝายไว้ล่วงหน้า ทำให้เสียโอกาสในการได้ใช้งบประมาณจากภาครัฐในเรื่องการแก้ไขปัญหาภัยแล้งเร่งด่วน ทั้งที่การใช้งบในการปรับปรุงซ่อมแซมฝายที่มีอยู่เดิมนั้น สามารถทำได้โดยทันที
เพราะไม่มีปัญหาเรื่องการใช้ที่ดินใหม่ และไม่มีปัญหาข้อขัดแย้งของชุมชน
การแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้ได้ผลนั้น จะต้องทำการตรวจสอบสภาพฝายและระบบส่งน้ำซึ่งเป็นการตรวจสภาพการใช้งานและความเสี่ยงต่อความปลอดภัยขององค์ประกอบต่าง ๆของฝาย และใช้องค์ความรู้ด้านวิชาการร่วมกับองค์ความรู้ของชุมชน มาวางแนวทางปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบของฝาย เพื่อให้กลับมามีประสิทธิภาพทำหน้าที่ได้และขณะเดียวกันต้องไม่ทำให้เกิดปัญหากีดขวางทางน้ำ นอกจากนี้น้ำที่เก็บกักหน้าฝายจะเป็นแหล่งเติมน้ำให้กับชั้นน้ำใต้ดินระดับตื้นในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี
จึงจำเป็นต้องทำโครงการเพื่อพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศการตรวจสอบและวางแผนปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพฝายในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมถูกหลักวิชาการ มีการรวบรวมตำแหน่งของฝายทุกแห่งที่มีปัญหา และแนวทางวิธีการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพหรือปรับเปลี่ยนรูปแบบในแต่ละแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝายที่มีอยู่จำนวนมากที่ก่อสร้างและอยู่ในการดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยแล้งและน้ำท่วม โดยผลผลิตที่ได้จะใช้เป็นข้อมูลสำคัญในกำหนดรูปแบบของการวางแผน
การจัดหางบประมาณ และลงมือปฏิบัติการแก้ไขปัญหาต่อไปโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน
2. วัตถุประสงค์ของโครงการ :
พัฒนาระบบสารสนเทศการตรวจสอบและวางแผนปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพฝายในพื้นที่ 18 อำเภอของจังหวัดเชียงราย เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำท่วมและภัยแล้ง นอกจากนี้น้ำที่เก็บกักหน้าฝายจะเป็นแหล่งเติมน้ำให้กับชั้นน้ำใต้ดินในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี โดยใช้ความรู้ในทางวิชาการร่วมกับองค์ความรู้ของชุมชน
3. กลุ่มเป้าหมาย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย :
3.1 กลุ่มเป้าหมาย :
1. หน่วยงานราชการ หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน สามารถนำข้อมูลมาวางแผนการบริหารจัดการ เพื่อการวางแผนแก้ไขปัญหาการขาดศักยภาพของฝายในพื้นที่ได้โดยใช้รูปแบบการวางแผนแก้ไขปัญหาในพื้นที่ต้นแบบเป็นตัวอย่างได้
2. จังหวัดเชียงราย สามารถใช้เพื่อกำหนดนโยบาย และติดตามงานด้านบริหารจัดการน้ำ การจัดการภัยแล้งและน้ำท่วมในพื้นที่
2. จังหวัดเชียงราย สามารถใช้เพื่อกำหนดนโยบาย และติดตามงานด้านบริหารจัดการน้ำ การจัดการภัยแล้งและน้ำท่วมในพื้นที่
3.2 ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย : จังหวัดเชียงราย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมชลประทาน กรม ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด กรมเจ้าท่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มูลนิธิ องค์กรสาธารณกุศล อาสาสมัคร และประชาชน
4. เป้าหมาย ผลผลิต และผลลัพธ์ :
4.1 เป้าหมายโครงการ :
ตัวชี้วัด | หน่วยนับ | ปี 2564 |
---|---|---|
จังหวัดเชียงรายมีระบบสารสนเทศการตรวจสอบและ วางแผนปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพฝายพร้อมแนวทาง และวิธีการแก้ไขปัญหาเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือ น้ำท่วมและภัยแล้ง ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย จำนวน 18 อำเภอ |
ระบบ | 1 |
4.2 ผลผลิต :
1. พื้นที่จังหวัดเชียงราย จำนวน 18 อำเภอ มีระบบการตรวจสอบและวางแผนปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพฝายพร้อมแนวทางและวิธีการแก้ไขปัญหา เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือน้ำท่วมและภัยแล้ง นอกจากนี้น้ำที่เก็บกักหน้าฝายจะเป็นแหล่งเติมน้ำให้กับชั้นน้ำใต้ดินในพื้นที่ได้
2. มีฐานข้อมูลและแนวคิดสำหรับวิธีการแก้ไขปัญหาเพื่อปรับปรุงฝาย เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้วางแผนและออกแบบรายละเอียดในการแก้ปัญหาที่เหมาะสมได้
2. มีฐานข้อมูลและแนวคิดสำหรับวิธีการแก้ไขปัญหาเพื่อปรับปรุงฝาย เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้วางแผนและออกแบบรายละเอียดในการแก้ปัญหาที่เหมาะสมได้
4.3 ผลลัพธ์ :
ฝายในทุกตำบลของ 18 อำเภอ ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ได้รับการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้สามารถยกระดับผันน้ำเข้าคลองหรือเหมืองส่งน้ำไปใช้ในฤดูการเพาะปลูก และสามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง เพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง นอกจากนี้น้ำที่เก็บกักหน้าฝายจะเป็นแหล่งเติมน้ำให้กับชั้นน้ำใต้ดินในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี